บทที่ 9 ผลกระทบจากการใช้ระบบสารสนเทศและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 9
ผลกระทบจากการใช้ระบบสารสนเทศและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

         ปัจจุบันระบบสารสนเทศได้รับการยอมรับทั่วไป ทั้งในการปฏิบัติงานส่วนตัวและการปฏิบัติงานในธุรกิจ การใช้งานระบบสารสนเทศนี้ก่อให้เกิดการใช้ข้อมูลร่วมกัน ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ด้านความปลอดภัย และด้านจริยธรรม ดั้งนั้นผู้ที่ศึกษาด้านระบบสารสนเทศจึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันและแก้ไขข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นต่อไป

ผลกระทบของระบบสารสนเทศต่อชีวิตประจำวัน
      การนำระบบสารสนเทศมาใช้จนเกิดเป็นความเคยชินในชีวิตประจำวัน ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบ สามารถจำแนกได้เป็น
1.             ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การพัฒนาระบบสารสนเทศมักสืบเนื่องมาจากความต้องการด้านธุรกิจการค้า หรือความไม่สะดวกในการทำงาน ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเงินตรา การคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ก่อให้เกิดการแข่งขันทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากขึ้น
2.             ผลกระทบต่อสังคม การนำระบบสารสนเทศมาใช้มีผลต่อชีวิตประจำวัน การปฏิบัติงานหรือทักษะการทำงาน ได้แก่ สะดวกในการติดต่อสื่อสาร การนัดหมายสะดวก สะดวกในการแจ้งเห็นฉุกเฉิน 
3.             ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ระบบสารสนเทศไม่ได้มีผลต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง เพราะระบบสารสนเทศส่วนใหญ่เป็นตัวผลิตผลลัพธ์ ซึ่งผลลัพธ์นี้อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
4.             ผลกระทบต่อการศึกษา ได้มีการนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนการสอนบนเว็บ การเรียนทางไกลผ่านระบบVD มาช่วยทำให้การเรียนการสอนสะดวกขึ้น ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเดินทางไปเข้าห้องเรียน สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
5.             ผลกระทบด้านสาธรณสุข ได้มีการนำระบบสารสนเทศมาช่วยในด้านการเก็บประวัติผู้ป่วย การเผยแพร่ข้อมูลด้านสาธรณสุขในด้านลบระบบสารสนเทศก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆมากมาย เช่น
5.1          ผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย เช่น อาการเมื่อยล้า บาทเจ็บชองกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ อาการปวดตา ความเครียดแบบ Techno stress การเจ็บป่วยเนื่องจากรังสี
5.2          จากผลกระทบของสารสนเทศที่มีต่อสุขภาพร่างกาย ผู้ใช้จึงมีความจำเป็นต้องระวังมิให้เกิดผลกระทบทางด้านลบต่อสุขภาพ

ผลกระทบของระบบสารสนเทศด้านจริยธรรม
1.             ความถูกต้องของข้อมูล คือ สามสามารถในการเปลี่ยนแปล แก้ไข ปรับปรุงข้อมูลด้วยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายรวดเร็วแต่ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาของความถูกต้องของข้อมูลได้เช่นกัน
2.             ทรัพย์สินทางปัญญา ปัจจุบันข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถคัดลอก และส่งต่อ ได้อย่างรวดเร็วยากที่จะรู้ว่าใครเป็นผู้สร้างหรือเป็นเจ้าของข้อมูล
3.             ความเป็นส่วนตัว คือ สิทธิของบุคคลที่จะสามารถอยู่ได้โดยไม่ถูกจับตามอง หรือเป็นเป้าในการจับตามองของผู้อื่น
4.             การเข้าถึงข้อมูล คือ การใช้ระบบเครือข่ายและอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมในการสื่อสารก่อให้เกิดความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล ดังนั้นอาจมีผู้นำรหัสผ่านของผู้อื่นมาใช้ในการเข้าถึงข้อมูล ทำให้เกิดการขโมยข้อมูล เปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ
1.             กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
1.1      ลิขสิทธิ คือ สิทธิความเป็นเจ้าของในงานสร้างสรรค์ ใช้ความคิดริเริ่ม ประเภทงานเขียน
1.2      สิทธิบัตร คือ สิทธิคุ้มครองความเป็นเจ้าของงานที่คิดค้น สร้างสรรค์ขึ้น
1.3      ความลับทางการค้า คือ ข้อมูลการค้าในรูปแบบต่างๆที่ทำให้ผู้ครอบครองหรือได้รับสิทธิประโยชน์เชิงพาณิชย์เหนือคู่แข่ง
1.4      เครื่องหมายการค้า คือ สิ่งที่จำแนกสินค้าของผู้ประกอบการรายหนึ่งจากผู้ประกอบการสินค้ารายอื่นๆเพื่อให้ลูกค้าได้มีโอกาสตัดสินใจได้ว่าจะเลือกซื้อสินค้าของผู้ประกอบการรายใด
2.             กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
2.1      กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมที่ได้กระทำขึ้นโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด หรือบางส่วน โดยอาจกระทำผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ
2.2      กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ การรับรองสถานการณ์ทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นจะต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญคือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเปรียบเทียบได้กับการลงลายมือชื่อกำกับเอกสารต่างๆ
2.3      กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คือ การกระทำใดๆที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ซึ่งทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายหรือกระทำความเสียหายโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น